ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกวิชาภาษาไทยของนางสาวนันทิพร เสือณรงค์ เลขที่ 16 ชั้น ม.4/2

เม้า1

เม้าส์

Cute Ghost

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ลักษณะคำประพันธ์


         มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดกสำนวนภาคกลางนิยมแต่งร่ายยาว  เพราะร่ายยาวเหมาะแก่การใช้แหล่เทศน์  ผู้เทศน์จะออกเสียงได้ไพเราะและเปลี่ยนทำนองเทศน์ได้หลายอย่าง
          ร่ายยาวเป็นการเรียบเรียงถ้อยคำให้คล้องจองกันเป็นวรรค คือ คำสุดท้ายของวรรคหน้าจะส่งสัมผัสไปยังวรรคหลัง  ซึ่งรับสัมผัสได้แทบทุกคำ  ยกเว้นคำที่อยู่ท้ายวรรค  เป็นเช่นนี้ไป
จนจบ  แต่ละบทจะยาวเท่าใดก็ได้  แต่มักไม่ต่ำกว่า ๔ วรรค
          ร่ายยาวมหาเวสสันดร  จะยกคาถาบาลีนำก่อน  แล้วจึงแต่งร่ายยาวตาม  ดังตัวอย่าง
“…สา อมิต.ตตาปนา  ส่วนว่านางอมิตตดานั้นเป็นลูกเหล่าตระกูลไม่เสียชาติ  ไม่คิดว่าตัวเป็นสาวได้ผัวแก่แล้วก็เป็นเมียทาส  คิดว่าทุกข์ของพ่อแม่กรรมแล้วก็ตามกรรม  สมมา  ปฏิชค,
คิ เป็นต้นว่าหาหุงต้มตักตำทุกค่ำเช้าไม่ขวยเขินละอายเพื่อน เวลาเช้าเจ้าก็ทำเวลาค่ำเจ้าก็มิให้เตือนทั้งการเรือนเจ้าก็มิให้ว่า  ทั้งฟืนเจ้าก็หักทั้งผักเจ้าก็หา  เฝ้าปรนนิบัติเฒ่าชราทุกเวลากาลนั้นแล…”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น